# การเขียนเว็บด้วย HTML
ในการพัฒนาเว็บนั้น มีอยู่ในรูปแบบของการพัฒนาแบบเป็นทีม โดยมีเว็บมาสเตอร์หลาย ๆ คนร่วมพัฒนาร่วมกัน ซึ่ง GitHub Pages นั้น support กับสร้างเว็บในรูปแบบของทีมด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ในบทเรียนนี้จะมีการใช้ CSS Framework เพื่อช่วยในการสร้างเว็บร่วมกับ HTML และ CSS ที่ปรับแต่งเองด้วย
# แบบฝึกหัด
# 1. สร้าง Organisation บน GitHub Pages
แต่ละ GitHub Account นั้นสามารถที่จะสร้าง Organisation เพื่อที่จะรองรับงานเป็นทีม หรือองค์กรได้
- โดยเราสามารถสร้าง Organisation ได้โดยการกดที่ + ด้านบนขวามีอ
- จากนั้นให้เลือก Plan โดยเราสามารถเลือกแบบ Team for Open Source ซึ่ง GitHub ให้บริการฟรีได้
- จากนั้นให้ใส่
- Organisation Name ซึ่งชื่อนี้จะต้องไม่ซ้ำกับชื่อที่มีอยู่แล้วบน GitHub
- Contact Email โดยให้ใส่อีเมล์ของตัวแทนหลักของทีม
- เลือกเป็นแบบ Personal Account
- เมื่อสร้าง Organisation เรียบร้อย GitHub จะถามให้เรา invite members ซึ่งเราสามารถที่จะ invite ตอนนี้หรือ skip ไปทำภายหลังก็ได้
- เมื่อเรียบร้อยแล้วจะเข้าสู่หน้า Home ของ Organisation ซึ่งส่วนนี้จะแตกต่างจากหน้า Home ของแต่ละผู้ใช้ เพราะจะเป็นส่วนที่ทีมสามารถเข้ามาทำงานร่วมกันได้
- เราสามารถเพิ่มผู้ใช้ GitHub คนอื่นเพื่อเข้ามาร่วมทีม
- ไปที่ Tab => People แล้วกดปุ่ม invite members
- จากนั้นให้พิมพ์ชื่อ GitHub User ที่ต้องการเพิ่ม
- ให้เลือก Role เป็น Owner เพื่อให้สมาชิกทุกคนในทีมมีสิทธิ์ในการแก้ไขเท่ากัน
- เราสามารถสร้าง repository สำหรับเก็บเว็บไซต์ของทีม หรือ Organisation ของเราได้
- ขั้้นตอนเหมือนกับการสร้าง Repository ส่วนตัว แตกต่างกันเพียงแค่ต้องสร้าง Repository ในระดับ Organisation
- เมื่อกด New Repository แล้วให้ตรวจสอบว่า Owner เป็น Organisation ที่เราสร้าง และ Repository Name ต้องอยู่ในรูปของ organisation-name.github.io
- กด Create Repository
- เมื่อสร้าง Repository สำหรับ Host เว็บของ Organisation เรียบร้อย จะได้ผลดังภาพ
- ขั้นตอนถัดไปเราสามารถที่จะเข้าไปที่ Repository ของ Organisation เพื่อสร้างไฟล์ HTML, CSS
# 2. Group Assignment
- สร้าง Organisation โดยมีสมาชิกในกลุ่มไม่เกิน 5 คน
- นำหน้าประวัติของสมาชิกทุกคนมาใส่ใน Organisation
- สร้างหน้า Landing Page โดยมีลิงค์เชื่อมไปยังหน้าประวัติของแต่ละคน
# 3. การใช้ CSS ร่วมกับ HTML
การใช้ CSS ในการปรับแต่งการแสดงผลของ HTML นั้น สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
- Inline HTML => มีผลกับ HTML tag นั้น ๆ เท่านั้น
<p style="text-align:center">My paragraph</p>
2
- Internal CSS => มีผลกับ HTML ไฟล์นั้น (ตาม selector ที่กำหนด) ไม่สามารถใช้ในไฟล์อื่นได้
<!DOCTYPE html>
<html>
<head>
<title>เว็บของฉัน</title>
<meta charset="utf-8" />
<meta http-equiv="X-UA-Compatible" content="IE=edge" />
<meta name="description" content="" />
<meta name="viewport" content="width=device-width, initial-scale=1" />
<style>
body {
text-color: red;
}
</style>
</head>
<body>Hello World</body>
</html>
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
- External CSS => มีผลกับ HTML ไฟล์ที่เรียกใช้ผ่าน
<link rel="stylesheet" href="main.css">
<html>
<head>
<title>เว็บของฉัน</title>
<meta charset="utf-8" />
<meta http-equiv="X-UA-Compatible" content="IE=edge" />
<meta name="description" content="" />
<meta name="viewport" content="width=device-width, initial-scale=1" />
<link rel="stylesheet" href="main.css">
</head>
<body>Hello World</body>
</html>
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
- ซึ่งใน main.css เราสามารถเขียน CSS ได้เหมือนใน
<style></style>
body {
text-color: red;
}
2
3
4
- ในการใช้ CSS จะต้องมี Selector ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่า CSS ที่เราเขียนในจะถูก apply กับ HTML Tag ไหนบ้าง (อ้างอิงจาก Handout)
# 4. การใช้ Bootstrap ร่วมกับ HTML
ในการเขียน CSS เพื่อจัดแต่ง HTML นั้นใช้เวลามาก ดังนั้นจึงมีการพัฒนา CSS Framework ให้ช่วยลดระยะเวลาของการเขียน CSS อีกทั้งยังมีฟีเจอร์ที่ช่วยในการจัด Layout ของ HTML content อีกด้วย
Bootstrap (opens new window) เป็น CSS Framework ที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้ปรับแต่ง HTML โดยเราสามารถที่จะนำ Bootstrap มาใช้ได้เพียงใส่ <link>
ดังบรรทัดที่ 8
<html>
<head>
<title>เว็บของฉัน</title>
<meta charset="utf-8" />
<meta http-equiv="X-UA-Compatible" content="IE=edge" />
<meta name="description" content="" />
<!-- Required meta tags -->
<meta name="viewport" content="width=device-width, initial-scale=1, shrink-to-fit=no">
<!-- Bootstrap CSS -->
<link rel="stylesheet" href="https://stackpath.bootstrapcdn.com/bootstrap/4.4.1/css/bootstrap.min.css" integrity="sha384-Vkoo8x4CGsO3+Hhxv8T/Q5PaXtkKtu6ug5TOeNV6gBiFeWPGFN9MuhOf23Q9Ifjh" crossorigin="anonymous">
</head>
<body>Hello World</body>
</html>
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
- ในการใช้งาน Bootstrap นั้น หลังจากขั้นตอนข้างต้น เพียงแค่ระบุชื่อ class ของ Bootstrap ใน HTML ก็สามารถใช้งานได้ทันที
<button type="button" class="btn btn-success">Success</button>
<button type="button" class="btn btn-danger">Danger</button>
2
# 5. Group Assignment (Continue)
- นำ Bootstrap ไปใช้ในทุก HTML Pages ของ Organisation